วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552



ทางด้านระบบเศรษฐกิจ


ทางด้านนโยบายด้านเศรษฐกิจ โอบามาใช้รัฐเป็นหัวหอก พร้อมกับพุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนชั้นกลางลงไปถึงรากหญ้า ส่วนอดีตผู้นำใช้วิธีพุ่งเป้าไปที่ชนชั้นระดับรากหญ้าโดยตรง(อาจเป็นเพราะประชากรส่วนใหญ่ของไทย อยู่ในชนชั้นนี้กันมาก หรืออาจเรียกได้ว่า เป็นการซื้อใจประชาชนก็ได้)

โอบามาใช้วิธีเยียวยาเศรษฐกิจจากข้างใน หมายถึงว่า แก้ปัญหาที่มีอยู่ และที่เป็นเรื้อรังมานาน เช่น คืนภาษีประชาชน ลดภาษีให้ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 7.5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี แต่เพิ่มอัตราภาษีกับผู้มีรายได้มากกว่า 2.5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ยกเว้นภาษีแก่ผู้เกษียณอายุที่มีรายได้ต่ำกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ให้ Tax Credit 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ กับคนทำงาน เพื่อชดเชยภาษีประกันสังคม หรือ ตั้งกองทุนมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อให้คนอเมริกัน 1 ล้านคนมีงานทำ เป็นต้น แต่อดีตผู้นำยังคงมุ่งผลประโยชน์ไปที่คนระดับรากหญ้า ซึ่งความสำเร็จของนโยบายทักษิณเป็นข้ออ้างที่ยังต้องมีการประเมินค่าความถูกต้องน่าเชื่อถืออีกหลายประการ เช่นการเติบโตทางเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายประชาสังคมเช่น 30บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้านและชุมชน ธนาคารคนจน สิ่งเหล่านี้ทำด้วยความจริงใจ หรือ ซื้อใจ(หวังผล)


วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552

ทำไม? ทักษิณ จึงไม่ได้เป็นวีรบุรุษของชาติไทย เหมือน โอบามา เป็นวีรบุรุษของชาวอเมริกัน?






โดยปกติแล้ว ไทยทนจะเปรียบเทียบอย่างระมัดระวัง ระหว่างเรื่องทฤษฎีกับเรื่องจริง "โอบามา"ขณะนี้ มีความนิยมสูงมาก แต่อาจเป็นเพราะยังไม่ได้ผ่านเวลาที่เป็นผู้ปฏิบัติแท้จริง แต่อดีตผู้นำไทยซึ่งได้ปฏิบัติจริงแล้ว เห็นธาตุแท้ในหลายเรื่อง แต่ไทยทนเห็นว่า นี่คือสิ่งดีของความแตกต่างระหว่าง “ความดี” กับ “ความบาป” มนุษย์ควรรักกันเสมอ ไม่ควรเกลียดกัน สิ่งเดียวที่เราควรเกลียด คือ “ความบาป” “ความเลว” “ความชั่ว” ไม่ใช่ตัวบุคคล ขณะนี้ ชาวอเมริกัน และชาวโลก นิยมโอบามาสูงมาก ก็เพราะอย่างน้อย เขาได้เห็นความคิดที่ดี คำพูดที่ดี เชื่อว่า หากเมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริง แล้วเริ่มหลงทาง “ความนิยม” ก็ย่อมเสื่อมลง และชาวโลก ก็ยังสมควรยกย่อง “คนดี” และ “ความดี” และควรตักเตือน “คนบาป” และรังเกียจ “ความบาป” ต่อไป



โอบามาผ่านการพิสูจน์ตัวเองมาหลายสนาม ดีเบต กับ “คนรู้ทัน” อย่างนาง ฮีลารี คลินตัน หลายรอบกว่าจะชนะ และยังต้องดีเบตกับคู่แข่งที่เป็น “คนรู้ทัน” อย่างจอน แมคเคนอีกหลายรอบ จนได้รับชัยชนะอย่างขาวสะอาด เราจึงได้เห็นภาพที่น่าปลื้มใจว่า แมคเคนกล่าวยอมรับว่า “โอบามาชนะอย่างขาวสะอาด และเป็นประธานาธิบดีที่ชาวอเมริกันพึงให้ความร่วมมือกันทุกคน” ไทยยามเห็นความแตกต่างหลายเรื่องที่นำไปสู่ข้อสรุปว่า ทำไมโอบามาจึงเป็นประธานธิบดีของชาวอเมริกันทั้งประเทศ แต่อดีตผู้นำเราไม่ได้เป็นนายกฯ “ของคนไทยทั้งประเทศ” ก็เพราะไม่ได้เลือกทางสว่างแบบเดียวกัน


ประการแรก โอบามาชนะด้วย “ความจริง” แต่อดีตผู้นำชนะด้วย “การปกปิดความจริง” เราจึงได้เห็นน้ำใจนักกีฬาที่น่ายกย่อง สิ่งสำคัญที่สุดของนักกีฬา คือ “ซื่อสัตย์ สุจริต” และ “รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย” จะเห็นว่า “คนเล่นโกง” แล้วชนะ ไม่เคยได้รับการยอมรับ และยกย่อง หากเล่นฟุตบอลแล้ว มีการให้สินบนกรรมการ มีการใช้อาวุธในสนาม มีการเพิ่มคนเกินกติกา แล้วชนะ ก็คงยากที่จะบอกว่า “เมื่อชนะแล้วอยากเห็นฝ่ายพ่ายแพ้ยอมรับ” ก็เพราะโกงมา การเลือกตั้งที่ปิดกั้นสื่อ การใช้อำนาจรัฐเอื้อธุรกิจส่วนตัว โกงมหาศาลจนมีเงินมากมาย ซื้อเสียงมากมาย ใช้เงินของรัฐแทนที่จะพัฒนาชาติ พัฒนาคนให้หายจน กลับทำให้จนไว้ แจกเศษเงินง่ายๆ ให้ได้คะแนนเสียง ไม่ยอมตอบคำถามในสภา ไม่ยอมดีเบต เพราะกลัวชาวบ้านที่ติดตามการเมืองเห็นความจริงที่ตนต้องการปกปิด เมื่อชนะอย่างไม่สัตย์ซื่อก็ย่อมไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนมากมายผู้รู้ทัน



เริ่มเห็นความแตกต่างระหว่างทั้งสองผู้นำหรือยังค่ะ ถ้าคิดว่าเรื่องแค่นี้ยังเป็นเรื่องที่เล็กน้อยอยู่ ก็ขอให้ท่านติดตามตอนต่อไป.... และท่านจะได้เห็นและเปรียบเทียบถึงความซื่อสัตย์สุจริตกับความคดโกง ความดีและความชั่วได้อย่างชัดเจน... :)








ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การให้คะแนนBLOG

ท่านผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ เนื้อหา เรื่องการปกครองท้องถิ่น ท่านคิดว่าควรจะให้คะแนน blog นี้เท่าไหร่ คะแนนเรียงตามด้านล่างนี้เลยค่ะ



ดีมาก 5คะแนน
ดี 4 คะแนน
ปานกลาง 3 คะแนน
พอใช้ 2 คะแนน
ควรปรับปรุง 1 คะแนน


ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นและให้คะแนน blog ไว้ ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ



วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รายชื่อผู้จัดทำBLOG วิชาPolitics and Government

นางสาวณัฐธิดา กาญจนวัฒน์ 5131007129 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นางสาวธัญพิชชา นิธิไชโย 5131007141 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นางสาวธัญลักษณ์ ลีส่งสิทธิ์ 5131007142 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นางสาวปรีชญา ชื่นชีพ 5131007163 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นายพีระเชษฐ์ ชุ่มชื่น 5131007184 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นางสาวรติพร แสงสว่าง 5131007195 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด



เนื้อหาเพิ่มเติมค่ะ

อบจ. 75 แห่ง

เทศบาลนคร 22 แห่ง

เทศบาลเมือง 119 แห่ง

เทศบาลตำบล 1,020 แห่ง

อบต. 6,617 แห่ง


รวม 7,853 แห่ง
ยังไม่รวม กทม. และ เมืองพัทยา
** ข้อมูลปี 2551

การปกครองท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ




1. การปกครองท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป หรือบางครั้งเรียกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป รูปแบบของการปกครองท้องถิ่นที่ใช้อยู่ทั่วไปในประเทศไทย กล่าวคือ มีอยู่ทุกจังหวัด เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ หรือ บางครั้งเรียกว่าการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สำหรับในประเทศไทย มีอยู่ 2 แห่งคือ กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา เหตุที่ต้องเรียกว่า การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เพราะว่า การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ นี้จะมีขึ้นเป็นกรณีๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นเขตเมืองใหญ่ เช่น เมืองหลวง หรือ เขตเมืองท่องเที่ยว ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะใช้รูปแบบการปกครองท้องถิ่นทั่วไปมาใช้ในการปกครองเมืองประเภทนี้ ในปัจจุบัน การปกครองท้องถิ่นของไทย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบพิเศษหรือรูปแบบทั่วไป ก็จะใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในรูปแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงทั้งสิ้น

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

นโยบายการกระจายอำนาจของรัฐบาลสู่ท้องถิ่น

รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารงานของท้องถิ่น ให้มีอำนาจอิสระในการกำหนดนโยบายการบริหารงานการจัดทำแผนพัฒนา ตำบล การจัดทำงบประมาณ ตลอดจนให้อำนาจในการออกกฎหมายใช้ บังคับในพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาท้องถิ่นให้มากที่สุด ดังนั้นจึงได้กำหนดเป็นนโยบายที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจการปกครองสู่ ท้องถิ่นไว้ดังนี้
1. การกระจายภารกิจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของประชาชนที่หน่วยงานของรัฐจัดทำให้แก่องค์กรปกครอง ท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการปกครอง และแก้ไขปัญหาของตนเอง ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับองค์กรปกครองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็นส่วนรวม เช่น ปัญหาการจราจร สิ่งแวดล้อมและมลภาวะ
2. การกระจายรายได้ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้สามารถบริหารกิจการของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติเพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีอิสระคล่องตัว และบังเกิดประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณให้สามารถรองรับกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในขณะนี้กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกับกระทรวงการคลังปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และข้อ บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองท้องถิ่นซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของท้องถิ่นมีรายได้โดยรวมมากขึ้น โดยมีมาตรการในการปรับปรุงโครงสร้าง
3. ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีอิสระในการกำหนด นโยบายการปกครองท้องถิ่นของตน และมีอำนาจในการกำหนดนโยบายการบริหารการพัฒนาฯ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการวางผังเมือง