วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การให้คะแนนBLOG

ท่านผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ เนื้อหา เรื่องการปกครองท้องถิ่น ท่านคิดว่าควรจะให้คะแนน blog นี้เท่าไหร่ คะแนนเรียงตามด้านล่างนี้เลยค่ะ



ดีมาก 5คะแนน
ดี 4 คะแนน
ปานกลาง 3 คะแนน
พอใช้ 2 คะแนน
ควรปรับปรุง 1 คะแนน


ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นและให้คะแนน blog ไว้ ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ



วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รายชื่อผู้จัดทำBLOG วิชาPolitics and Government

นางสาวณัฐธิดา กาญจนวัฒน์ 5131007129 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นางสาวธัญพิชชา นิธิไชโย 5131007141 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นางสาวธัญลักษณ์ ลีส่งสิทธิ์ 5131007142 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นางสาวปรีชญา ชื่นชีพ 5131007163 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นายพีระเชษฐ์ ชุ่มชื่น 5131007184 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นางสาวรติพร แสงสว่าง 5131007195 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด



เนื้อหาเพิ่มเติมค่ะ

อบจ. 75 แห่ง

เทศบาลนคร 22 แห่ง

เทศบาลเมือง 119 แห่ง

เทศบาลตำบล 1,020 แห่ง

อบต. 6,617 แห่ง


รวม 7,853 แห่ง
ยังไม่รวม กทม. และ เมืองพัทยา
** ข้อมูลปี 2551

การปกครองท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ




1. การปกครองท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป หรือบางครั้งเรียกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป รูปแบบของการปกครองท้องถิ่นที่ใช้อยู่ทั่วไปในประเทศไทย กล่าวคือ มีอยู่ทุกจังหวัด เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ หรือ บางครั้งเรียกว่าการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สำหรับในประเทศไทย มีอยู่ 2 แห่งคือ กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา เหตุที่ต้องเรียกว่า การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เพราะว่า การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ นี้จะมีขึ้นเป็นกรณีๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นเขตเมืองใหญ่ เช่น เมืองหลวง หรือ เขตเมืองท่องเที่ยว ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะใช้รูปแบบการปกครองท้องถิ่นทั่วไปมาใช้ในการปกครองเมืองประเภทนี้ ในปัจจุบัน การปกครองท้องถิ่นของไทย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบพิเศษหรือรูปแบบทั่วไป ก็จะใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในรูปแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงทั้งสิ้น

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

นโยบายการกระจายอำนาจของรัฐบาลสู่ท้องถิ่น

รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารงานของท้องถิ่น ให้มีอำนาจอิสระในการกำหนดนโยบายการบริหารงานการจัดทำแผนพัฒนา ตำบล การจัดทำงบประมาณ ตลอดจนให้อำนาจในการออกกฎหมายใช้ บังคับในพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาท้องถิ่นให้มากที่สุด ดังนั้นจึงได้กำหนดเป็นนโยบายที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจการปกครองสู่ ท้องถิ่นไว้ดังนี้
1. การกระจายภารกิจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของประชาชนที่หน่วยงานของรัฐจัดทำให้แก่องค์กรปกครอง ท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการปกครอง และแก้ไขปัญหาของตนเอง ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับองค์กรปกครองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็นส่วนรวม เช่น ปัญหาการจราจร สิ่งแวดล้อมและมลภาวะ
2. การกระจายรายได้ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้สามารถบริหารกิจการของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติเพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีอิสระคล่องตัว และบังเกิดประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณให้สามารถรองรับกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในขณะนี้กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกับกระทรวงการคลังปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และข้อ บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองท้องถิ่นซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของท้องถิ่นมีรายได้โดยรวมมากขึ้น โดยมีมาตรการในการปรับปรุงโครงสร้าง
3. ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีอิสระในการกำหนด นโยบายการปกครองท้องถิ่นของตน และมีอำนาจในการกำหนดนโยบายการบริหารการพัฒนาฯ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการวางผังเมือง

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ความหมายของการปกครองท้องถิ่น

การปกครองท้องถิ่น คือ การที่รัฐบาลให้อำนาจแก่การปกครองส่วนท้องถิ่นในการตัดสินใจและบริหารงานได้อย่างอิสระ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยที่รัฐบาลจะคอยติดตามผลงานความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การบริหารงานของท้องถิ่นมีการจัดเป็นองค์การ มีเจ้าหน้าที่ซึ่งประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งขึ้นมาเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดโดยให้ประชาชนปกครองกันเอง มี 4 รูปแบบ คือ
1.
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีโครงสร้างบริหารคือสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้กำกับดูแล
2.
เทศบาล มีโครงสร้างบริหารคือสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแล
3.
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีโครงสร้างบริหารคือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมี นายอำเภอเป็นผู้กำกับดูแล
4. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ที่มีฐานะเป็นทบวงการเมืองและนิติบุคคล มี 2 แห่งคือกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
1.
กรุงเทพมหานคร มีโครงสร้างบริหารคือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสภากรุงเทพมหานครและสภาเขต
2.
เมืองพัทยา มีโครงสร้างบริหารคือ สภาเมืองพัทยา นายกเมืองพัทยา
3.
นครหาดใหญ่ มีโครงสร้างบริหารคือ สภานครหาดใหญ่ นายกนครหาดใหญ่
ปัจจุบัน รูปแบบการปกครองท้องถิ่นของไทยทุกรูปแบบ ใช้
การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงทั้งสิ้น

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

พธม.ยิงรถนักข่าว-บังคับถอดเสื้อยุติความรุนแรง



15:34 น.


วันนี้ได้เกิดเหตุพันธมิตรฯ ใช้อาวุธปืนยิงรถถ่ายทอดสัญญาณสถานีโทรทัศน์ข่าวทีเอ็นเอ็น ของสถานีเคเบิลทีวี ยูบีซี ทรูวิชชั่น โดยนายภานุมาศ ใจหอก เจ้าหน้าที่อุปกรณ์สัญญาณไมโครเวฟและพนักงานขับรถคันเกิดเหตุ กล่าวว่า ก่อนเกิดเหตุพร้อมเพื่อนร่วมงานอีก 1 คน ขับรถยนต์กระบะติดสติกเกอร์ยูบีซี และโลโก้สำนักข่าวทีเอ็นเอ็น หลังคาติดตั้งจานส่งสัญญาณไมโครเวฟ หลงทางอยู่ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ จึงจอดรถที่จุดตรวจกลุ่มพันธมิตรฯ บริเวณทางขึ้นทางยกระดับเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร เพื่อสอบถามทาง ขณะเดียวกันเกิดเสียงระเบิดขึ้น จากนั้นการ์ดพันธมิตรฯ รีบไล่ให้ขึ้นรถเพื่อขับเข้าไปยังอาคารผู้โดยสาร แต่เมื่อมาถึงจุดตรวจที่ 2 ปรากฏว่าเกิดเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด จึงรีบขับรถหนีกระทั่งถึงอาคารผู้โดยสาร เมื่อลงไปตรวจสอบพบรอยกระสุนปืนที่บริเวณ ฝากระบะท้ายรถ มุมประตูท้ายรถ และหลังคารถ โชคดีที่ไม่มีผู้รับบาดเจ็บ
ต่อมานายอมร อมรรัตนานนท์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ มาขอโทษพร้อมแจ้งว่า เป็นการเข้าใจผิดของการ์ดในจุดตรวจที่ 2 เนื่องจากหลังเกิดเสียงระเบิดขึ้นที่จุดตรวจที่ 1 รถยนต์คันดังกล่าววิ่งฝ่ามาด้วยความเร็วคิดว่าเป็นรถของผู้มาโยนระเบิดก่อกวน จึงยิงสวนไปเพื่อสกัดรถ
ด้าน นายณัฐวุฒิ กรัณยโสภณ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บ้านเมือง ที่ถูกผู้ร่วมชุมนุม 2 ราย บังคับให้ถอดเสื้อ "ยุติความรุนแรง" กล่าวว่า รู้สึกงงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเป็นเสื้อที่สมาคมนักข่าวฯ ให้สวมเพื่อรณรงค์ให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรง และสวมไปทำข่าวพันธมิตรภายในทำเนียบรัฐบาลตลอดเวลา ไม่เคยมีใครมาบังคับให้ถอดออก แต่ไม่รู้สึกหวาดกลัวอะไร ยืนยันว่าจะทำหน้าที่รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามความเป็นจริงต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของสื่อสารมวลชน อย่างไรก็ตามตนไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวายมากขึ้นไปอีก จึงยอมเลี่ยนเสื้อสีอื่นมาสวมแทน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิมเติมว่า แม้แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ จัดพื้นที่เฉพาะให้สื่อมวลชน แต่ยังมีผู้ชุมนุมจำนวนมากเดินตามมามุงดูและถ่ายภาพการทำงานของสื่อมวลชนทั้งหมดตลอดเวลา ทั้งยังมีการ์ดพันธมิตรฯ หลายกลุ่มเข้ามาสอบถามตลอดเวลา กระทั่งนายศรัญยู ที่ยืนคุยกับผู้สื่อข่าวในบริเวณดังกล่าวต้องให้การ์ดประจำตัวไปแจ้งให้ผู้ที่ชุมนุมอยู่แยกย้ายกันไป
นอกจากนี้เมื่อกลางดึกคืนที่ผ่านมา มีผู้สื่อข่าวสตรีสำนักข่าวแห่งหนึ่งถูกกลุ่มผู้ชุมนุมล้อมกรอบข่มขู่ให้ถอดเสื้อขาวปักข้อความ “ยุติความรุนแรง” ออกเช่นกัน และยังมีคนตามประกบพร้อมภ่ายภาพสื่อมวลชนทุกคนที่อยู่ในสนามบินสุวรรณภูมิ เหมือพยายามสร้างแรงกดดันให้สื่อมวลชนต้องรายงานเฉพาะข่าวด้านดีของการชุมนุมเพียงอย่างเดียว เป็นเหตุให้สื่อมวลชนทั้งหมดต้องคอยดูแลกันเป็นพิเศษ และรวมกลุ่มกันไว้ตลอดเวลา

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความหมายของประชาธิปไตย







ประชาธิปไตย (democracy) คือแนวคิดที่เชื่อว่าประชาชนมีสิทธิที่จะปกครองตนเอง ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดก่อนหน้า ที่เชื่อว่าประชาชนมีชีวิตอยู่เพื่อเสริมสร้างบารมีหรือความมั่งคั่งให้กับกษัตริย์ หรือมีชีวิตตามความต้องการของพระเจ้า การเปลี่ยนกระบวนทัศน์นี้เป็นผลจากยุคแสงสว่าง
การนำแนวคิดประชาธิปไตยมาใช้จริงนั้นมีลักษณะเป็นขั้นเป็นตอน จากประชาธิปไตยเชิงรูปแบบ ไปเป็นประชาธิปไตยเชิงเสรี และเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม แม้ว่าประเทศส่วนใหญ่ในโลกเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่บางประเทศก็เป็นแค่ในนาม บางประเทศเป็นประชาธิปไตยที่ไม่มีเสรีภาพ หรือประชาธิปไตยครึ่งใบ บางประเทศเป็นประชาธิปไตยเชิงเสรี และบางประเทศก็พัฒนาไปเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของรัฐบาล และมีกิจกรรมทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ
ประชาธิปไตยนั้น กล่าวได้ว่ามีความหมายทั้งในแง่อุดมการณ์หรือลัทธิความคิดทางการเมือง และความหมายในเชิงระบอบการปกครอง โดยเป็นที่ประจักษ์กันทั่วไปว่า ระบอบการปกครองที่สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีกลไกเงื่อนไขรองรับศักดิ์ศรี สิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคมคือการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ถือว่าประชาชนคือเจ้าของอำนาจ
คำว่า “ประชาธิปไตย” มาจากภาษากรีกโบราณว่า “Democratia” เป็นคำผสมระหว่างคำว่า “Demo” หมายถึง ประชาชนหรือสาธารณชนทั่วไป นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กล่าวถึงคำว่า demo หรือ demos ว่ามี 2-3 ความหมาย ความหมายแรกหมายถึง ประชาชนหรือสาธารณะชนดังกล่าวไปแล้ว อีกความหมายหนึ่งคือ ชายฉกรรจ์ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ไม่ได้เป็นทาส มีอิสระและได้แสดงตนว่าสามารถทำหน้าที่ปกป้องนครรัฐของตนเองได้
ส่วนอีกความหมายหนึ่งคือสภาประชาชน หรือ “ekklesia” ซึ่งเป็นที่รวมของรายชื่อประชาชนทั้งหลาย) อีกคำหนึ่งที่ประกอบคือ “cratia” ที่มีความหมายถึง ระบอบการปกครอง อันอาจจะสรุปความหมายของประชาธิปไตยได้จากสุนทรพจน์อันลือเลื่องของประธานาธิบดีลิงคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ว่า ประชาธิปไตยคือการปกครอง “ของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน” ที่ถือว่าอำนาจหน้าที่ในการปกครองประเทศจะต้องมาจากประชาชนหรือได้รับความยินยอมจากประชาชน โดยจะมีการกำหนดวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวไว้