วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การให้คะแนนBLOG

ท่านผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ เนื้อหา เรื่องการปกครองท้องถิ่น ท่านคิดว่าควรจะให้คะแนน blog นี้เท่าไหร่ คะแนนเรียงตามด้านล่างนี้เลยค่ะ



ดีมาก 5คะแนน
ดี 4 คะแนน
ปานกลาง 3 คะแนน
พอใช้ 2 คะแนน
ควรปรับปรุง 1 คะแนน


ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นและให้คะแนน blog ไว้ ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ



วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รายชื่อผู้จัดทำBLOG วิชาPolitics and Government

นางสาวณัฐธิดา กาญจนวัฒน์ 5131007129 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นางสาวธัญพิชชา นิธิไชโย 5131007141 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นางสาวธัญลักษณ์ ลีส่งสิทธิ์ 5131007142 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นางสาวปรีชญา ชื่นชีพ 5131007163 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นายพีระเชษฐ์ ชุ่มชื่น 5131007184 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นางสาวรติพร แสงสว่าง 5131007195 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด



เนื้อหาเพิ่มเติมค่ะ

อบจ. 75 แห่ง

เทศบาลนคร 22 แห่ง

เทศบาลเมือง 119 แห่ง

เทศบาลตำบล 1,020 แห่ง

อบต. 6,617 แห่ง


รวม 7,853 แห่ง
ยังไม่รวม กทม. และ เมืองพัทยา
** ข้อมูลปี 2551

การปกครองท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ




1. การปกครองท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป หรือบางครั้งเรียกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป รูปแบบของการปกครองท้องถิ่นที่ใช้อยู่ทั่วไปในประเทศไทย กล่าวคือ มีอยู่ทุกจังหวัด เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ หรือ บางครั้งเรียกว่าการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สำหรับในประเทศไทย มีอยู่ 2 แห่งคือ กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา เหตุที่ต้องเรียกว่า การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เพราะว่า การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ นี้จะมีขึ้นเป็นกรณีๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นเขตเมืองใหญ่ เช่น เมืองหลวง หรือ เขตเมืองท่องเที่ยว ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะใช้รูปแบบการปกครองท้องถิ่นทั่วไปมาใช้ในการปกครองเมืองประเภทนี้ ในปัจจุบัน การปกครองท้องถิ่นของไทย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบพิเศษหรือรูปแบบทั่วไป ก็จะใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในรูปแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงทั้งสิ้น

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

นโยบายการกระจายอำนาจของรัฐบาลสู่ท้องถิ่น

รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารงานของท้องถิ่น ให้มีอำนาจอิสระในการกำหนดนโยบายการบริหารงานการจัดทำแผนพัฒนา ตำบล การจัดทำงบประมาณ ตลอดจนให้อำนาจในการออกกฎหมายใช้ บังคับในพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาท้องถิ่นให้มากที่สุด ดังนั้นจึงได้กำหนดเป็นนโยบายที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจการปกครองสู่ ท้องถิ่นไว้ดังนี้
1. การกระจายภารกิจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของประชาชนที่หน่วยงานของรัฐจัดทำให้แก่องค์กรปกครอง ท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการปกครอง และแก้ไขปัญหาของตนเอง ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับองค์กรปกครองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็นส่วนรวม เช่น ปัญหาการจราจร สิ่งแวดล้อมและมลภาวะ
2. การกระจายรายได้ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้สามารถบริหารกิจการของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติเพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีอิสระคล่องตัว และบังเกิดประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณให้สามารถรองรับกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในขณะนี้กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกับกระทรวงการคลังปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และข้อ บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองท้องถิ่นซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของท้องถิ่นมีรายได้โดยรวมมากขึ้น โดยมีมาตรการในการปรับปรุงโครงสร้าง
3. ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีอิสระในการกำหนด นโยบายการปกครองท้องถิ่นของตน และมีอำนาจในการกำหนดนโยบายการบริหารการพัฒนาฯ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการวางผังเมือง

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ความหมายของการปกครองท้องถิ่น

การปกครองท้องถิ่น คือ การที่รัฐบาลให้อำนาจแก่การปกครองส่วนท้องถิ่นในการตัดสินใจและบริหารงานได้อย่างอิสระ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยที่รัฐบาลจะคอยติดตามผลงานความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การบริหารงานของท้องถิ่นมีการจัดเป็นองค์การ มีเจ้าหน้าที่ซึ่งประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งขึ้นมาเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดโดยให้ประชาชนปกครองกันเอง มี 4 รูปแบบ คือ
1.
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีโครงสร้างบริหารคือสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้กำกับดูแล
2.
เทศบาล มีโครงสร้างบริหารคือสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแล
3.
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีโครงสร้างบริหารคือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมี นายอำเภอเป็นผู้กำกับดูแล
4. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ที่มีฐานะเป็นทบวงการเมืองและนิติบุคคล มี 2 แห่งคือกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
1.
กรุงเทพมหานคร มีโครงสร้างบริหารคือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสภากรุงเทพมหานครและสภาเขต
2.
เมืองพัทยา มีโครงสร้างบริหารคือ สภาเมืองพัทยา นายกเมืองพัทยา
3.
นครหาดใหญ่ มีโครงสร้างบริหารคือ สภานครหาดใหญ่ นายกนครหาดใหญ่
ปัจจุบัน รูปแบบการปกครองท้องถิ่นของไทยทุกรูปแบบ ใช้
การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงทั้งสิ้น