วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

พธม.ยิงรถนักข่าว-บังคับถอดเสื้อยุติความรุนแรง



15:34 น.


วันนี้ได้เกิดเหตุพันธมิตรฯ ใช้อาวุธปืนยิงรถถ่ายทอดสัญญาณสถานีโทรทัศน์ข่าวทีเอ็นเอ็น ของสถานีเคเบิลทีวี ยูบีซี ทรูวิชชั่น โดยนายภานุมาศ ใจหอก เจ้าหน้าที่อุปกรณ์สัญญาณไมโครเวฟและพนักงานขับรถคันเกิดเหตุ กล่าวว่า ก่อนเกิดเหตุพร้อมเพื่อนร่วมงานอีก 1 คน ขับรถยนต์กระบะติดสติกเกอร์ยูบีซี และโลโก้สำนักข่าวทีเอ็นเอ็น หลังคาติดตั้งจานส่งสัญญาณไมโครเวฟ หลงทางอยู่ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ จึงจอดรถที่จุดตรวจกลุ่มพันธมิตรฯ บริเวณทางขึ้นทางยกระดับเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร เพื่อสอบถามทาง ขณะเดียวกันเกิดเสียงระเบิดขึ้น จากนั้นการ์ดพันธมิตรฯ รีบไล่ให้ขึ้นรถเพื่อขับเข้าไปยังอาคารผู้โดยสาร แต่เมื่อมาถึงจุดตรวจที่ 2 ปรากฏว่าเกิดเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด จึงรีบขับรถหนีกระทั่งถึงอาคารผู้โดยสาร เมื่อลงไปตรวจสอบพบรอยกระสุนปืนที่บริเวณ ฝากระบะท้ายรถ มุมประตูท้ายรถ และหลังคารถ โชคดีที่ไม่มีผู้รับบาดเจ็บ
ต่อมานายอมร อมรรัตนานนท์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ มาขอโทษพร้อมแจ้งว่า เป็นการเข้าใจผิดของการ์ดในจุดตรวจที่ 2 เนื่องจากหลังเกิดเสียงระเบิดขึ้นที่จุดตรวจที่ 1 รถยนต์คันดังกล่าววิ่งฝ่ามาด้วยความเร็วคิดว่าเป็นรถของผู้มาโยนระเบิดก่อกวน จึงยิงสวนไปเพื่อสกัดรถ
ด้าน นายณัฐวุฒิ กรัณยโสภณ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บ้านเมือง ที่ถูกผู้ร่วมชุมนุม 2 ราย บังคับให้ถอดเสื้อ "ยุติความรุนแรง" กล่าวว่า รู้สึกงงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเป็นเสื้อที่สมาคมนักข่าวฯ ให้สวมเพื่อรณรงค์ให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรง และสวมไปทำข่าวพันธมิตรภายในทำเนียบรัฐบาลตลอดเวลา ไม่เคยมีใครมาบังคับให้ถอดออก แต่ไม่รู้สึกหวาดกลัวอะไร ยืนยันว่าจะทำหน้าที่รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามความเป็นจริงต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของสื่อสารมวลชน อย่างไรก็ตามตนไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวายมากขึ้นไปอีก จึงยอมเลี่ยนเสื้อสีอื่นมาสวมแทน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิมเติมว่า แม้แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ จัดพื้นที่เฉพาะให้สื่อมวลชน แต่ยังมีผู้ชุมนุมจำนวนมากเดินตามมามุงดูและถ่ายภาพการทำงานของสื่อมวลชนทั้งหมดตลอดเวลา ทั้งยังมีการ์ดพันธมิตรฯ หลายกลุ่มเข้ามาสอบถามตลอดเวลา กระทั่งนายศรัญยู ที่ยืนคุยกับผู้สื่อข่าวในบริเวณดังกล่าวต้องให้การ์ดประจำตัวไปแจ้งให้ผู้ที่ชุมนุมอยู่แยกย้ายกันไป
นอกจากนี้เมื่อกลางดึกคืนที่ผ่านมา มีผู้สื่อข่าวสตรีสำนักข่าวแห่งหนึ่งถูกกลุ่มผู้ชุมนุมล้อมกรอบข่มขู่ให้ถอดเสื้อขาวปักข้อความ “ยุติความรุนแรง” ออกเช่นกัน และยังมีคนตามประกบพร้อมภ่ายภาพสื่อมวลชนทุกคนที่อยู่ในสนามบินสุวรรณภูมิ เหมือพยายามสร้างแรงกดดันให้สื่อมวลชนต้องรายงานเฉพาะข่าวด้านดีของการชุมนุมเพียงอย่างเดียว เป็นเหตุให้สื่อมวลชนทั้งหมดต้องคอยดูแลกันเป็นพิเศษ และรวมกลุ่มกันไว้ตลอดเวลา

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความหมายของประชาธิปไตย







ประชาธิปไตย (democracy) คือแนวคิดที่เชื่อว่าประชาชนมีสิทธิที่จะปกครองตนเอง ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดก่อนหน้า ที่เชื่อว่าประชาชนมีชีวิตอยู่เพื่อเสริมสร้างบารมีหรือความมั่งคั่งให้กับกษัตริย์ หรือมีชีวิตตามความต้องการของพระเจ้า การเปลี่ยนกระบวนทัศน์นี้เป็นผลจากยุคแสงสว่าง
การนำแนวคิดประชาธิปไตยมาใช้จริงนั้นมีลักษณะเป็นขั้นเป็นตอน จากประชาธิปไตยเชิงรูปแบบ ไปเป็นประชาธิปไตยเชิงเสรี และเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม แม้ว่าประเทศส่วนใหญ่ในโลกเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่บางประเทศก็เป็นแค่ในนาม บางประเทศเป็นประชาธิปไตยที่ไม่มีเสรีภาพ หรือประชาธิปไตยครึ่งใบ บางประเทศเป็นประชาธิปไตยเชิงเสรี และบางประเทศก็พัฒนาไปเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของรัฐบาล และมีกิจกรรมทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ
ประชาธิปไตยนั้น กล่าวได้ว่ามีความหมายทั้งในแง่อุดมการณ์หรือลัทธิความคิดทางการเมือง และความหมายในเชิงระบอบการปกครอง โดยเป็นที่ประจักษ์กันทั่วไปว่า ระบอบการปกครองที่สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีกลไกเงื่อนไขรองรับศักดิ์ศรี สิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคมคือการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ถือว่าประชาชนคือเจ้าของอำนาจ
คำว่า “ประชาธิปไตย” มาจากภาษากรีกโบราณว่า “Democratia” เป็นคำผสมระหว่างคำว่า “Demo” หมายถึง ประชาชนหรือสาธารณชนทั่วไป นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กล่าวถึงคำว่า demo หรือ demos ว่ามี 2-3 ความหมาย ความหมายแรกหมายถึง ประชาชนหรือสาธารณะชนดังกล่าวไปแล้ว อีกความหมายหนึ่งคือ ชายฉกรรจ์ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ไม่ได้เป็นทาส มีอิสระและได้แสดงตนว่าสามารถทำหน้าที่ปกป้องนครรัฐของตนเองได้
ส่วนอีกความหมายหนึ่งคือสภาประชาชน หรือ “ekklesia” ซึ่งเป็นที่รวมของรายชื่อประชาชนทั้งหลาย) อีกคำหนึ่งที่ประกอบคือ “cratia” ที่มีความหมายถึง ระบอบการปกครอง อันอาจจะสรุปความหมายของประชาธิปไตยได้จากสุนทรพจน์อันลือเลื่องของประธานาธิบดีลิงคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ว่า ประชาธิปไตยคือการปกครอง “ของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน” ที่ถือว่าอำนาจหน้าที่ในการปกครองประเทศจะต้องมาจากประชาชนหรือได้รับความยินยอมจากประชาชน โดยจะมีการกำหนดวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวไว้